อำนาจหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด
(ตาม กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557)
สำนักงานสหกรณ์จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในพื้นที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร
3) ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
4) ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ติดตาม รวบรวม แผนงาน จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และจัดทำคำขอตั้งงบประมาณของสำนักงาน
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ จัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานบริหารทั่วไปของสำนักงาน
- ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนงาน/โครงการและคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน
- เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานและจัดทำปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
- ดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นไปได้และให้ความเห็นในการขอจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรของกลุ่มบุคคล รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรภายหลังการจัดตั้ง
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการจัดตั้งสหกรณ์ แก้ไขปัญหาภารกิจที่เกี่ยวข้องของกลุ่มงาน ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์
- ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมสหกรณ์
- ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพิเศษ
- ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม
- เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ
- การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการฝึกอบรม/การบริหารโครงการระดับจังหวัดในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคลและการควบคุมภายใน เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง
- ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหาการลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์
- ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
- ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริม การตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนา สินค้าการบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
- ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจ การตลาดสหกรณ์ ลู่ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์
- ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแล รักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
- ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
- ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล เพื่อตรวจสอบกิจการ และฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อกำกับดูแลให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อทราบหรือพิจารณา
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียน การควบ การแยก การเลิก การชำระบัญชี การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร
3. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อวางระบบและแนวทางการตรวจการสหกรณ์ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ
4. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกันแก้ไข
5. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่น การร้องเรียนคดีความต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์
6. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อหารือ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์
7. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ในการเตรียมการ หรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง
8. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
9. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ
10. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
11. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบการตรวจการสหกรณ์
12. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์กฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ
- ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ
- ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ
- เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ
- ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม
- ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมสหกรณ์ และระบบการตรวจการสหกรณ์
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย